คุณเคย ตัดสินคนอื่นจากอาชีพ หรือเปล่า?
Self developmentWorking Lifestyle articles | By

เป็นความจริงที่ไม่น่าชื่นชมสักเท่าไหร่ บ่อยครั้งที่เราตัดสินคนผิดๆ จากภายนอกเพียงเพราะ “อาชีพ” ที่เขาทำ เวลาเรารับรู้ว่าคนๆ นี้ทำงานอะไร เรายิ่งไม่ได้กลั่นกรองระบบความคิดให้มากขึ้น ต่อมรับรู้ของเราประมวลผลไปแล้วครึ่งหนึ่งว่าคนๆ นี้น่าจะเป็นคนที่มีนิสัยอย่างไร ฐานะที่บ้าน การศึกษาดีระดับไหน ที่น่าเศร้าคือ หลากหลายอาชีพเหลือเกินที่ถูกสังคมตีตราว่าด้อยค่า ไม่มีความสำคัญเพียงพอเมื่อเอาไปเทียบกับอีกอาชีพหนึ่ง
บทความนี้จะพูดถึง “Stereotype” ทัศนคติเชิงอคติ และการรับรู้ในอดีตที่สั่งสมมาของคนส่วนมากกับอาชีพต่างๆ จนเกิดเป็นกรอบความคิดแบบเหมารวมไป ซึ่งความจริงอาจจะไม่เป็นอย่างที่คิดเหมารวมนั้นก็ได้ เช่น Stereotype ของนักวาดรูป คือที่คิดเลขไม่เก่ง มีโลกส่วนตัวสูงเกินไป ซึ่งจริงๆ แล้วเราต่างก็รู้ว่าไม่จำเป็นที่นักวาดรูปทุกคนจะต้องไม่ถนัดเลข แต่พอพูดถึงอาชีพนี้ เรากลับมองเห็นคตินิยมทางลบบางอย่างที่กลายเป็นมาตรฐานแบบผิดๆ ไป
กราฟข้อมูลด้านล่างนี้ มาจากผลการสำรองของนักจิตวิทยา Susan Fiske ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Princeton และนักศึกษาปริญญาโท Cydney Dupree แสดงให้เห็นว่า คนเราถูกตัดสินไปจากอาชีพที่ทำอย่างไรบ้าง โดยใช้หลัก Stereotype Content Model มี “ความสามารถ (Competence)” และ “ความอบอุ่น (Warmth) ในที่นี่หมายถึงลักษณะความเป็นมิตร” เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ

ข้อมูลจาก Susan Fiske ภาพดัดแปลงใหม่โดย SkillSolved
แบบสำรวจนี้ใช้การเก็บข้อมูลออนไลน์ด้วยวิธีการไม่ซับซ้อนมาก โดยแบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก (กลุ่มใหญ่) สอบถามว่าพวกเขาทำอาชีพอะไรกันบ้าง แล้วนำมาสร้างลิสต์อาชีพที่ได้รับเลือกมากที่สุด ได้ออกมาเป็น 42 อาชีพ จากนั้นกลุ่มที่สอง ถูกถามให้จัดอันดับแต่ละอาชีพ โดยมี “ความสามารถ (Competence)” และ “ความอบอุ่น (Warmth) ในที่นี่หมายถึงลักษณะความเป็นมิตร” เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ
แกนจากซ้ายไปขวาหมายถึงระดับความสามารถหรือทักษะของอาชีพนั้นๆ (ยิ่งเอียงไปด้านซ้ายยิ่งน้อย ด้านขวาคือมากขึ้น) แกนจากล่างไปบนหมายถึงระดับความเป็นมิตร (ลงล่างมากเท่าไหร่คือมีนิสัยเย็นชามากเท่านั้น ในขณะที่สูงขึ้นคือความเป็นความมิตรที่เพิ่มขึ้น) ผู้วาดนำผลจากกราฟมาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (วงกลม 4 อัน) เป็นที่มาของการตีความและการมองมุมต่าง 4 ประเด็น
ความสามารถสูง ความเป็นมิตรมาก
อาชีพที่คนมักตัดสินว่าเป็นอาชีพที่มีความสามารถสูง เต็มไปด้วยความอบอุ่น เป็นห่วงเป็นใย เป็นอาชีพที่คนให้ความสำคัญ มีหน้ามีตาในสังคม ผู้คนรับรู้ถึงความภาคภูมิใจและความชื่นชม เต็มไปด้วยทัศนคติด้านบวก
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรที่แพทย์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ (มุมบนขวา) เรื่องน่าคิดคือครูและพยาบาลถูกจัดอยู่ในหมวดนี้เช่นกัน แปลว่ามีความสามารถสูงและมีความเป็นมิตรอยู่ในตัวสูง แต่พวกเขากลับมีรายได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ในระดับความสามารถเช่นเดียวกัน อย่าง CEO ทนายความ หรือวิศวกร คนที่มีความสามารถและมีความเป็นมิตรสูงควรได้รับค่าตอบแทบที่ดีพอกันไม่ใช่เหรอ? หรือจริงๆ แล้ว ที่คนส่วนมากมองว่าพวกเขา Nice & Gentle มาจากการที่ใช้ความสามารถเยอะแต่ก็ยังยอมได้ค่าตอบแทนน้อยกันแน่?
ความสามารถต่ำ ความเป็นมิตรน้อย
ในด้านตรงข้ามของสเปกตรัม (ซ้ายสุด) คือ วิชาชีพที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะทาง เช่น พนักงานล้างจาน พนักงานฟาสต์ฟู้ด คนเก็บขยะ คนขับรถแท็กซี่ ถูกจัดอันดับไว้ที่บริเวณข้างซ้ายด้านล่าง ผู้คนเลือกจัดอันดับว่ามีลักษณะนิสัยที่ไม่เป็นมิตร มีทัศนคติด้านลบ ให้ความรู้สึกดูถูกหรือโดนรังเกียจโดยคนส่วนใหญ่ นั่นอาจแปลว่า ผู้คนส่วนมากมักสรุปว่าอาชีพที่ไม่ได้มีรายได้สูง คืออาชีพที่ไม่ได้ใช้ความสามารถมากนัก
คนเก็บขยะเป็นอาชีพที่ดูเหมือนคนในสังคมชอบเหมารวมกันว่าเป็นอาชีพต้อยต่ำ เหนื่อย หนัก สกปรก แต่จะมีกี่คนที่มองเห็นถึงความอดอน และความเสียสละเพื่อสังคม หยุดก็ไม่ได้และเป็นอาชีพที่สำคัญและใกล้ตัวทุกคนที่สุด ถือเป็นอาชีพที่ทรงคุณค่าในภาวะโลกร้อนเลยทีเดียว เป็นอาชีพของแรงงานนอกระบบที่ไม่มีใครเหลียวมอง หรือสนใจ เป็นอาชีพรายได้น้อย แต่ก็สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตคนยากจนหลายครอบครัวจำนวนมาก แต่ทำไมคนทั่วไปจึงมี Negative Perception กับอาชีพนี้?

“Stereotype” หมายถึงภาพลักษณ์ในสมองของคน เป็นจินตนาการที่เป็นรูปร่างขึ้นมา
จากสิ่งที่เคยประสบมาก่อน ทำให้เกิดการเหมารวมว่าเป็นอย่างนั้นทั้งหมด
ความสามารถสูง ความเป็นมิตรปานกลาง
จากกราฟแสดงผลของการรับรู้และอารมณ์ความรู้สึกที่ค่อนข้างแปรปรวน เป็นกลุ่มอาชีพที่มีทักษะเฉพาะทาง มีความเป็นอยู่บ้างระดับกลาง แม้จะเป็นอาชีพที่มีความสามารถสูง แต่ก็มีกลิ่นอายของความไม่ไว้วางใจในอาชีพนั้นๆ ปะปนอยู่ เช่น วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักกฏหมาย เป็นไปได้ที่ผู้คนหลายคน อาจมีความทรงจำหรือประสบการณ์ที่ไม่ดีบางอย่าง (ที่โดดเด่น) กับอาชีพนี้ … ถัดมาด้านซ้ายเป็นอาชีพที่ใช้ทักษะน้อยกว่าหน่อย แต่ความเป็นมิตรจัดอยู่ระนายเดียวกัน เช่น นายธนาคาร นักการเมือง นายตำรวจ ฯลฯ
อาชีพทนายความ หนีไม่พ้นที่ต้องทำงานร่วมกับอาชีพที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็น ศาล อัยการ ตำรวจ ทหาร ราชทัณฑ์ ผู้พิพากษา ฯลฯ แม้จะได้รับการยกย่องอยู่บ่อยๆ ว่าเป็นอาชีพแห่งการผดุงความยุติธรรม แต่ก็ถูกมองว่าเป็นเหมือนเครื่องจักรประสิทธิภาพสูงแต่ไร้ซึ่งความปราณี (ดูจากกราฟอยู่บริเวณมุมขวาล่าง)
ความสามารถปานกลาง ความเป็นมิตรปานกลาง
อาชีพอื่นๆ เช่น นักเขียน ตำรวจ คนขับรถบัส ค่อนข้างเป็นกลางทั้งในด้านความสามารถ และลักษณะความเป็นมิตร เป็นเรื่องน่าคิดที่คนเรามอง การเป็นนักเขียนไม่ใช่เรื่องพิเศษ ผู้คนตัดสินว่างานเขียนเป็นเพียงสิ่งที่เราทำเพราะรู้สึกดีที่ได้ถ่ายทอดออกมา หรือเราจะทำมันก็ต่อเมื่อมีคนจ่ายเงินให้ทำ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วการที่เราจะเขียนอะไรดีๆ ออกมาสักงานต้องใช้ทั้งพลังในการศึกษา ใช้เวลาในการทำความเข้าใจกว่าจะออกมาเป็น End Product ได้ หรือการที่มองว่าตำรวจเป็นอาชีพที่ไม่ได้โดดเด่นเท่าไหร่นัก ทั้งๆ ที่ตำรวจ (ดีๆ) ก็ช่วยเหลือประชาชนอยู่มากมายเหมือนกัน
ดูกราฟแล้วก็อย่าเอาจริงเอาจังมากเกินไป เนื่องจากผลที่ได้มาจากคนกลุ่มหนึ่งในอเมริกาเท่านั้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากมันคือ การย้อนตั้งคำถามกับตัวเอง มุมต่างจากการกราฟอาจทำให้เราต้องทบทวนสิ่งที่เคยตัดสินใครไปในอดีตเพียงเพราะอาชีพของเขา
ความจริงแล้วเราต่างรู้กันอยู่อย่างเต็มอก ไม่ว่าจะอาชีพอะไร ทำรายได้มากน้อยแค่ไหน ผู้คนอาจมีทัศคติด้านลบยังไงก็ตาม ทุกอาชีพล้วนมีข้อดีข้อเสีย ไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไร พื้นฐานควรมาจากสิ่งที่เราชอบและถนัด เมื่องานออกมาดี เราก็ควรภูมิใจในสิ่งที่เราทำ เพราะทุกอาชีพมีความสัมพันธ์กัน เหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า แม้จะเป็นเฟืองชิ้นเล็กแต่ก็เป็นอีกหนึ่งแรงที่คอยขับเคลื่อนสังคมให้ไปข้างหน้า ถ้าประเทศเราขาดนักวิทยาศาสตร์ไปไม่ได้ เราก็ขาดคนเก็บขยะไปไม่ได้เช่นกัน
Facebook comments

เป็นความจริงที่ไม่น่าชื่นชมสักเท่าไหร่ บ่อยครั้งที่เราตัดสินคนผิดๆ จากภายนอกเพียงเพราะ “อาชีพ” ที่เขาทำ เวลาเรารับรู้ว่าคนๆ นี้ทำงานอะไร เรายิ่งไม่ได้กลั่นกรองระบบความคิดให้มากขึ้น ต่อมรับรู้ของเราประมวลผลไปแล้วครึ่งหนึ่งว่าคนๆ นี้น่าจะเป็นคนที่มีนิสัยอย่างไร ฐานะที่บ้าน การศึกษาดีระดับไหน ที่น่าเศร้าคือ หลากหลายอาชีพเหลือเกินที่ถูกสังคมตีตราว่าด้อยค่า ไม่มีความสำคัญเพียงพอเมื่อเอาไปเทียบกับอีกอาชีพหนึ่ง
บทความนี้จะพูดถึง “Stereotype” ทัศนคติเชิงอคติ และการรับรู้ในอดีตที่สั่งสมมาของคนส่วนมากกับอาชีพต่างๆ จนเกิดเป็นกรอบความคิดแบบเหมารวมไป ซึ่งความจริงอาจจะไม่เป็นอย่างที่คิดเหมารวมนั้นก็ได้ เช่น Stereotype ของนักวาดรูป คือที่คิดเลขไม่เก่ง มีโลกส่วนตัวสูงเกินไป ซึ่งจริงๆ แล้วเราต่างก็รู้ว่าไม่จำเป็นที่นักวาดรูปทุกคนจะต้องไม่ถนัดเลข แต่พอพูดถึงอาชีพนี้ เรากลับมองเห็นคตินิยมทางลบบางอย่างที่กลายเป็นมาตรฐานแบบผิดๆ ไป
กราฟข้อมูลด้านล่างนี้ มาจากผลการสำรองของนักจิตวิทยา Susan Fiske ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Princeton และนักศึกษาปริญญาโท Cydney Dupree แสดงให้เห็นว่า คนเราถูกตัดสินไปจากอาชีพที่ทำอย่างไรบ้าง โดยใช้หลัก Stereotype Content Model มี “ความสามารถ (Competence)” และ “ความอบอุ่น (Warmth) ในที่นี่หมายถึงลักษณะความเป็นมิตร” เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ

ข้อมูลจาก Susan Fiske ภาพดัดแปลงใหม่โดย SkillSolved
แบบสำรวจนี้ใช้การเก็บข้อมูลออนไลน์ด้วยวิธีการไม่ซับซ้อนมาก โดยแบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก (กลุ่มใหญ่) สอบถามว่าพวกเขาทำอาชีพอะไรกันบ้าง แล้วนำมาสร้างลิสต์อาชีพที่ได้รับเลือกมากที่สุด ได้ออกมาเป็น 42 อาชีพ จากนั้นกลุ่มที่สอง ถูกถามให้จัดอันดับแต่ละอาชีพ โดยมี “ความสามารถ (Competence)” และ “ความอบอุ่น (Warmth) ในที่นี่หมายถึงลักษณะความเป็นมิตร” เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ
แกนจากซ้ายไปขวาหมายถึงระดับความสามารถหรือทักษะของอาชีพนั้นๆ (ยิ่งเอียงไปด้านซ้ายยิ่งน้อย ด้านขวาคือมากขึ้น) แกนจากล่างไปบนหมายถึงระดับความเป็นมิตร (ลงล่างมากเท่าไหร่คือมีนิสัยเย็นชามากเท่านั้น ในขณะที่สูงขึ้นคือความเป็นความมิตรที่เพิ่มขึ้น) ผู้วาดนำผลจากกราฟมาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (วงกลม 4 อัน) เป็นที่มาของการตีความและการมองมุมต่าง 4 ประเด็น
ความสามารถสูง ความเป็นมิตรมาก
อาชีพที่คนมักตัดสินว่าเป็นอาชีพที่มีความสามารถสูง เต็มไปด้วยความอบอุ่น เป็นห่วงเป็นใย เป็นอาชีพที่คนให้ความสำคัญ มีหน้ามีตาในสังคม ผู้คนรับรู้ถึงความภาคภูมิใจและความชื่นชม เต็มไปด้วยทัศนคติด้านบวก
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรที่แพทย์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ (มุมบนขวา) เรื่องน่าคิดคือครูและพยาบาลถูกจัดอยู่ในหมวดนี้เช่นกัน แปลว่ามีความสามารถสูงและมีความเป็นมิตรอยู่ในตัวสูง แต่พวกเขากลับมีรายได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ในระดับความสามารถเช่นเดียวกัน อย่าง CEO ทนายความ หรือวิศวกร คนที่มีความสามารถและมีความเป็นมิตรสูงควรได้รับค่าตอบแทบที่ดีพอกันไม่ใช่เหรอ? หรือจริงๆ แล้ว ที่คนส่วนมากมองว่าพวกเขา Nice & Gentle มาจากการที่ใช้ความสามารถเยอะแต่ก็ยังยอมได้ค่าตอบแทนน้อยกันแน่?
ความสามารถต่ำ ความเป็นมิตรน้อย
ในด้านตรงข้ามของสเปกตรัม (ซ้ายสุด) คือ วิชาชีพที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะทาง เช่น พนักงานล้างจาน พนักงานฟาสต์ฟู้ด คนเก็บขยะ คนขับรถแท็กซี่ ถูกจัดอันดับไว้ที่บริเวณข้างซ้ายด้านล่าง ผู้คนเลือกจัดอันดับว่ามีลักษณะนิสัยที่ไม่เป็นมิตร มีทัศนคติด้านลบ ให้ความรู้สึกดูถูกหรือโดนรังเกียจโดยคนส่วนใหญ่ นั่นอาจแปลว่า ผู้คนส่วนมากมักสรุปว่าอาชีพที่ไม่ได้มีรายได้สูง คืออาชีพที่ไม่ได้ใช้ความสามารถมากนัก
คนเก็บขยะเป็นอาชีพที่ดูเหมือนคนในสังคมชอบเหมารวมกันว่าเป็นอาชีพต้อยต่ำ เหนื่อย หนัก สกปรก แต่จะมีกี่คนที่มองเห็นถึงความอดอน และความเสียสละเพื่อสังคม หยุดก็ไม่ได้และเป็นอาชีพที่สำคัญและใกล้ตัวทุกคนที่สุด ถือเป็นอาชีพที่ทรงคุณค่าในภาวะโลกร้อนเลยทีเดียว เป็นอาชีพของแรงงานนอกระบบที่ไม่มีใครเหลียวมอง หรือสนใจ เป็นอาชีพรายได้น้อย แต่ก็สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตคนยากจนหลายครอบครัวจำนวนมาก แต่ทำไมคนทั่วไปจึงมี Negative Perception กับอาชีพนี้?

“Stereotype” หมายถึงภาพลักษณ์ในสมองของคน เป็นจินตนาการที่เป็นรูปร่างขึ้นมา
จากสิ่งที่เคยประสบมาก่อน ทำให้เกิดการเหมารวมว่าเป็นอย่างนั้นทั้งหมด
ความสามารถสูง ความเป็นมิตรปานกลาง
จากกราฟแสดงผลของการรับรู้และอารมณ์ความรู้สึกที่ค่อนข้างแปรปรวน เป็นกลุ่มอาชีพที่มีทักษะเฉพาะทาง มีความเป็นอยู่บ้างระดับกลาง แม้จะเป็นอาชีพที่มีความสามารถสูง แต่ก็มีกลิ่นอายของความไม่ไว้วางใจในอาชีพนั้นๆ ปะปนอยู่ เช่น วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักกฏหมาย เป็นไปได้ที่ผู้คนหลายคน อาจมีความทรงจำหรือประสบการณ์ที่ไม่ดีบางอย่าง (ที่โดดเด่น) กับอาชีพนี้ … ถัดมาด้านซ้ายเป็นอาชีพที่ใช้ทักษะน้อยกว่าหน่อย แต่ความเป็นมิตรจัดอยู่ระนายเดียวกัน เช่น นายธนาคาร นักการเมือง นายตำรวจ ฯลฯ
อาชีพทนายความ หนีไม่พ้นที่ต้องทำงานร่วมกับอาชีพที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็น ศาล อัยการ ตำรวจ ทหาร ราชทัณฑ์ ผู้พิพากษา ฯลฯ แม้จะได้รับการยกย่องอยู่บ่อยๆ ว่าเป็นอาชีพแห่งการผดุงความยุติธรรม แต่ก็ถูกมองว่าเป็นเหมือนเครื่องจักรประสิทธิภาพสูงแต่ไร้ซึ่งความปราณี (ดูจากกราฟอยู่บริเวณมุมขวาล่าง)
ความสามารถปานกลาง ความเป็นมิตรปานกลาง
อาชีพอื่นๆ เช่น นักเขียน ตำรวจ คนขับรถบัส ค่อนข้างเป็นกลางทั้งในด้านความสามารถ และลักษณะความเป็นมิตร เป็นเรื่องน่าคิดที่คนเรามอง การเป็นนักเขียนไม่ใช่เรื่องพิเศษ ผู้คนตัดสินว่างานเขียนเป็นเพียงสิ่งที่เราทำเพราะรู้สึกดีที่ได้ถ่ายทอดออกมา หรือเราจะทำมันก็ต่อเมื่อมีคนจ่ายเงินให้ทำ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วการที่เราจะเขียนอะไรดีๆ ออกมาสักงานต้องใช้ทั้งพลังในการศึกษา ใช้เวลาในการทำความเข้าใจกว่าจะออกมาเป็น End Product ได้ หรือการที่มองว่าตำรวจเป็นอาชีพที่ไม่ได้โดดเด่นเท่าไหร่นัก ทั้งๆ ที่ตำรวจ (ดีๆ) ก็ช่วยเหลือประชาชนอยู่มากมายเหมือนกัน
ดูกราฟแล้วก็อย่าเอาจริงเอาจังมากเกินไป เนื่องจากผลที่ได้มาจากคนกลุ่มหนึ่งในอเมริกาเท่านั้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากมันคือ การย้อนตั้งคำถามกับตัวเอง มุมต่างจากการกราฟอาจทำให้เราต้องทบทวนสิ่งที่เคยตัดสินใครไปในอดีตเพียงเพราะอาชีพของเขา
ความจริงแล้วเราต่างรู้กันอยู่อย่างเต็มอก ไม่ว่าจะอาชีพอะไร ทำรายได้มากน้อยแค่ไหน ผู้คนอาจมีทัศคติด้านลบยังไงก็ตาม ทุกอาชีพล้วนมีข้อดีข้อเสีย ไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไร พื้นฐานควรมาจากสิ่งที่เราชอบและถนัด เมื่องานออกมาดี เราก็ควรภูมิใจในสิ่งที่เราทำ เพราะทุกอาชีพมีความสัมพันธ์กัน เหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า แม้จะเป็นเฟืองชิ้นเล็กแต่ก็เป็นอีกหนึ่งแรงที่คอยขับเคลื่อนสังคมให้ไปข้างหน้า ถ้าประเทศเราขาดนักวิทยาศาสตร์ไปไม่ได้ เราก็ขาดคนเก็บขยะไปไม่ได้เช่นกัน