เกิดอะไรขึ้นกับสมองเมื่อเราพรีเซนต์งาน?หากคุณเป็นอีกคนที่ปากสั่น มือชาทุกครั้งที่ต้องออกไปพรีเซนต์งาน ลองมาสำรวจการทำงานของสมอง เกิดอะไรขึ้นข้างในและทำอย่างไรจึงจะพรีเซนต์ได้ดี
Self development articles | By

พรีเซนต์งานทีไรเป็นต้องใจเต้นแรง ปากสั่น มือสั่น ก่อนจะลั่นขอตัวไปเข้าห้องน้ำเพราะดันตื่นเต้นจนปวดท้องขึ้นมาซะได้ ยิ่งถ้าต้องพูดพรีเซนต์ภาษาอังกฤษยิ่งแล้วใหญ่ จะอ้าปากพูดอะไรก็กลัวไปหมด!
ทั้งที่เราก็เตรียมตัวมาดีแล้ว หาวิธีการพรีเซนต์มาให้น่าสนใจ ฝึกพูด ท่องสคริปต์ได้ขึ้นใจแต่ก็ยังรู้สึกกลัวการพรีเซนต์จนอยู่พูดไม่ออกอยู่ดี
สาเหตุมันเกิดจากอะไร?
แล้วถ้าอยากจะเอาชนะความกลัวนี้ควรทำอย่างไรดี?
เกิดอะไรขึ้นกับสมองเมื่อเราพรีเซนต์งาน?
ตอนที่เราตื่นเต้น สมองส่วน Hypothalamus จะเปิดปุ่มทำงาน กระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมน Adrenocorticotropic (ACTH) ไปกระตุ้นต่อมหมวกไตที่เป็นแหล่งของ Adrenaline ให้หลั่งเข้าสู่กระแสเลือด เป็นผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากขึ้น และอัตราการเต้นของหัวใจเราก็เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนหนึ่งที่คนกลัวการออกไปพรีเซนต์งาน มาจากในหัวคิดไปก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งก็เกิดจากสมองส่วนที่เรียกรวมกันว่า Old Brain (พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกโดยได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อม และการเรียนรู้
เมื่อเราพรีเซนต์ส่วนนี้ก็จะทำงาน ต่อให้เตรียมวิธีการพรีเซนต์มาดีแค่ไหน แต่เพราะเป็นสภาพแวดล้อมที่กดดันสำหรับเรา เราจะเริ่มมองหาและคิดไปล่วงหน้าว่ามีอันตรายอะไรซ่อนตัวอยู่บ้างหรือเปล่า
ตัวอย่างสิ่งที่สมองเราคิดว่าเป็นภัยซ่อนอยู่
- การโดนปฏิเสธ
- กลัวที่ทุกสายตาจะจับจ้องมาที่เราจนตัวพรุน
- กลัวโดนถามแล้วจะตอบไม่ได้
- ถ้าพรีเซนต์ไม่ดีพออาจจะโดนตำหนิ
- พรีเซนต์ภาษาอังกฤษแล้วจะไม่ถูกหลักไวยกรณ์
เราจึงพยายามป้องกันตัวเอง สั่งตัวเองไม่ให้ทำอะไรผิดพลาด ไม่อย่างนั้นจะเกิดเรื่องร้ายขึ้นกับเราแน่ๆ พอพยายามจะระมัดระวังมากๆ ก็ดันกลายเป็นโฟกัสผิดจุด ลืมประโยคที่จะพูด เริ่มตะกุกตะกัก และเสียความมั่นใจไป
Tips เอาชนะความกลัวและพูดพรีเซนต์ให้ผ่านฉลุย
- เพิ่มความมั่นใจด้วยการฝึกฝน
ข้อนี้เป็นเทคนิคสำคัญก่อนพรีเซนต์งาน เพราะการพรีเซนต์ที่ดีไม่ได้หมายถึงการการท่องจำสคริปต์แล้วพูดตามนั้นได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แต่เป็นเรื่องของการทำความเข้าใจเนื้อหาที่เราจะพูด และสื่อสารออกมาให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่เราต้องจะสื่อได้อย่างตรงจุด
- ทำโน๊ตสั้นๆ กันลืม
เราอาจจะเขียนโน๊ตในส่วนที่ต้องเน้นย้ำกับตัวเอง หรือตอนที่ไม่มั่นใจเพราะต้องพรีเซนต์ภาษาอังกฤษ ให้เขียนเฉพาะส่วนสำคัญลงในกระดาษแผนเล็กๆ ที่ถือไว้ได้ระหว่างการพรีเซนต์
- แบ่งหัวข้อที่จะพูดออกให้ชัดเจน
ข้อมูลที่อยู่ในหัวมากเกินไปอาจจะทำให้จับต้นชนปลายไม่ถูก เริ่มพูดออกนอกเรื่อง หรือลืมว่าควรจะพูดอะไรต่อไปดี หนึ่งในกุญแจของการพรีเซนต์ที่ดีคือแบ่งสิ่งที่จะพูดออกเป็นหัวข้อ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
- ใส่หัวข้อกำกับในสไลด์
สไลด์เป็นอีกตัวช่วยที่คล้ายกับการทำโน๊ตสั้นๆ เผื่อให้เราได้หันไปมองแล้วพูดต่อได้โดยไม่สะดุด หรือตอนที่เริ่มรู้สึกว่ากำลังหลงประเด็น พอหันกลับไปมองสไลด์ก็จะได้เป็นตัวดึงเรากลับมาที่ประเด็นหลักนั่นเอง
เพราะวิธีการพรีเซนต์ของแต่ละคนแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะมีเคล็ดลับอีกมากมายที่คุณจะเอาไปประยุกต์ใช้เพื่อเอาชนะความกลัวตอนพรีเซนต์งาน แต่ทางที่ดีที่สุดก็ยังคงเป็นการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรากลัว ไม่มีอะไรดีไปกว่าการเก็บประสบการณ์จากการออกไปพรีเซนต์จริงๆ ในทุกครั้งที่มีโอกาส
เปิดกว้างให้สมองได้รับเอาประสบการณ์ การเรียนรู้ และภาพจำใหม่ๆ มาหักล้างกับความคิดชุดเดิมที่เป็นด้านลบๆ ของเรา จนกระทั่งสมองส่วน Old Brain ของเราพ่ายแพ้ให้กับความชำนาญสนาม และเริ่มคิด Positive กับการพรีเซนต์ในครั้งต่อๆ ไป เพราะการพรีเซนต์ที่ดีจะเกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่งก็มาจากการหมั่นฝึกฝนนั่นเอง
Facebook comments

พรีเซนต์งานทีไรเป็นต้องใจเต้นแรง ปากสั่น มือสั่น ก่อนจะลั่นขอตัวไปเข้าห้องน้ำเพราะดันตื่นเต้นจนปวดท้องขึ้นมาซะได้ ยิ่งถ้าต้องพูดพรีเซนต์ภาษาอังกฤษยิ่งแล้วใหญ่ จะอ้าปากพูดอะไรก็กลัวไปหมด!
ทั้งที่เราก็เตรียมตัวมาดีแล้ว หาวิธีการพรีเซนต์มาให้น่าสนใจ ฝึกพูด ท่องสคริปต์ได้ขึ้นใจแต่ก็ยังรู้สึกกลัวการพรีเซนต์จนอยู่พูดไม่ออกอยู่ดี
สาเหตุมันเกิดจากอะไร?
แล้วถ้าอยากจะเอาชนะความกลัวนี้ควรทำอย่างไรดี?
เกิดอะไรขึ้นกับสมองเมื่อเราพรีเซนต์งาน?
ตอนที่เราตื่นเต้น สมองส่วน Hypothalamus จะเปิดปุ่มทำงาน กระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมน Adrenocorticotropic (ACTH) ไปกระตุ้นต่อมหมวกไตที่เป็นแหล่งของ Adrenaline ให้หลั่งเข้าสู่กระแสเลือด เป็นผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากขึ้น และอัตราการเต้นของหัวใจเราก็เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนหนึ่งที่คนกลัวการออกไปพรีเซนต์งาน มาจากในหัวคิดไปก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งก็เกิดจากสมองส่วนที่เรียกรวมกันว่า Old Brain (พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกโดยได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อม และการเรียนรู้
เมื่อเราพรีเซนต์ส่วนนี้ก็จะทำงาน ต่อให้เตรียมวิธีการพรีเซนต์มาดีแค่ไหน แต่เพราะเป็นสภาพแวดล้อมที่กดดันสำหรับเรา เราจะเริ่มมองหาและคิดไปล่วงหน้าว่ามีอันตรายอะไรซ่อนตัวอยู่บ้างหรือเปล่า
ตัวอย่างสิ่งที่สมองเราคิดว่าเป็นภัยซ่อนอยู่
- การโดนปฏิเสธ
- กลัวที่ทุกสายตาจะจับจ้องมาที่เราจนตัวพรุน
- กลัวโดนถามแล้วจะตอบไม่ได้
- ถ้าพรีเซนต์ไม่ดีพออาจจะโดนตำหนิ
- พรีเซนต์ภาษาอังกฤษแล้วจะไม่ถูกหลักไวยกรณ์
เราจึงพยายามป้องกันตัวเอง สั่งตัวเองไม่ให้ทำอะไรผิดพลาด ไม่อย่างนั้นจะเกิดเรื่องร้ายขึ้นกับเราแน่ๆ พอพยายามจะระมัดระวังมากๆ ก็ดันกลายเป็นโฟกัสผิดจุด ลืมประโยคที่จะพูด เริ่มตะกุกตะกัก และเสียความมั่นใจไป
Tips เอาชนะความกลัวและพูดพรีเซนต์ให้ผ่านฉลุย
- เพิ่มความมั่นใจด้วยการฝึกฝน
ข้อนี้เป็นเทคนิคสำคัญก่อนพรีเซนต์งาน เพราะการพรีเซนต์ที่ดีไม่ได้หมายถึงการการท่องจำสคริปต์แล้วพูดตามนั้นได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แต่เป็นเรื่องของการทำความเข้าใจเนื้อหาที่เราจะพูด และสื่อสารออกมาให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่เราต้องจะสื่อได้อย่างตรงจุด
- ทำโน๊ตสั้นๆ กันลืม
เราอาจจะเขียนโน๊ตในส่วนที่ต้องเน้นย้ำกับตัวเอง หรือตอนที่ไม่มั่นใจเพราะต้องพรีเซนต์ภาษาอังกฤษ ให้เขียนเฉพาะส่วนสำคัญลงในกระดาษแผนเล็กๆ ที่ถือไว้ได้ระหว่างการพรีเซนต์
- แบ่งหัวข้อที่จะพูดออกให้ชัดเจน
ข้อมูลที่อยู่ในหัวมากเกินไปอาจจะทำให้จับต้นชนปลายไม่ถูก เริ่มพูดออกนอกเรื่อง หรือลืมว่าควรจะพูดอะไรต่อไปดี หนึ่งในกุญแจของการพรีเซนต์ที่ดีคือแบ่งสิ่งที่จะพูดออกเป็นหัวข้อ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
- ใส่หัวข้อกำกับในสไลด์
สไลด์เป็นอีกตัวช่วยที่คล้ายกับการทำโน๊ตสั้นๆ เผื่อให้เราได้หันไปมองแล้วพูดต่อได้โดยไม่สะดุด หรือตอนที่เริ่มรู้สึกว่ากำลังหลงประเด็น พอหันกลับไปมองสไลด์ก็จะได้เป็นตัวดึงเรากลับมาที่ประเด็นหลักนั่นเอง
เพราะวิธีการพรีเซนต์ของแต่ละคนแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะมีเคล็ดลับอีกมากมายที่คุณจะเอาไปประยุกต์ใช้เพื่อเอาชนะความกลัวตอนพรีเซนต์งาน แต่ทางที่ดีที่สุดก็ยังคงเป็นการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรากลัว ไม่มีอะไรดีไปกว่าการเก็บประสบการณ์จากการออกไปพรีเซนต์จริงๆ ในทุกครั้งที่มีโอกาส
เปิดกว้างให้สมองได้รับเอาประสบการณ์ การเรียนรู้ และภาพจำใหม่ๆ มาหักล้างกับความคิดชุดเดิมที่เป็นด้านลบๆ ของเรา จนกระทั่งสมองส่วน Old Brain ของเราพ่ายแพ้ให้กับความชำนาญสนาม และเริ่มคิด Positive กับการพรีเซนต์ในครั้งต่อๆ ไป เพราะการพรีเซนต์ที่ดีจะเกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่งก็มาจากการหมั่นฝึกฝนนั่นเอง